วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

แอมานุแอล มาครง(Emmanuel Macron)ประธานาธิบดีฝรั่งเศส

แอมานุแอล ฌ็อง-มีแชล เฟรเดริก มาครง( Emmanuel Jean-Michel Frédéric Macron; เกิดวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เป็นนักการเมือง อดีตข้าราชการพลเรือนระดับสูง และอดีตวาณิชธนกรชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสและผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา

มาครงเป็นหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 ผลจากการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายน ปรากฏว่า เขามีคะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยมารีน เลอ แปน ที่มีคะแนนตามมาเป็นอันดับสอง มาครงได้ลงแข่งขันกับเลอ แปน ในการเลือกตั้งรอบที่สองเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม และได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย ณ อายุ 39 ปี เขากลายเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสและกลายเป็นประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศสที่มีอายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่สมัยนโปเลียน

   มาทำความรู้จักกับแอมานุเอล มาครง ให้มากขึ้นกัน

1. ชีวิตครอบครัวและการศึกษา
        เอ็มมานูเอล ฌ็อง มิเชล เฟรเดอริค มาครง เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ที่เมืองเอเมียงส์ ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ครอบครัวของเขาทำงานอยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์และการแพทย์ แม่ของเขาเป็นหมอ ในขณะที่พ่อเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประสาทวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยพิคคาร์ดี มาครงเข้ารับการศึกษาในระดับประถมและมัธยมที่โรงเรียนในเมืองเอเตียง ก่อนจะย้ายไปเรียนต่อจนจบชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนอองรีที่ 4 (Lycée Henri-IV) โรงเรียนมัธยมชั้นสูงเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในปารีส ซึ่งเป็นสถานศึกษาของนักคิด นักปรัชญาชื่อดังหลายท่าน เช่น มิเชล ฟูโกต์ ฌ็อง-ปอล ซาร์ต

          มาครง เข้าศึกษาทางด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยปารีส น็องแตร์ (Université Paris Ouest Nanterre La Défense) และศึกษาต่อเรื่องการบริหารกิจการสาธารณะสถาบันซีอองซ์ โป (Science Po - The Institut d'études politiques de Paris) ตลอดชีวิตในช่วงวัยหนุ่มของเขานั้น เขามีความชื่นชอบและสนใจประวัติศาสตร์ ปรัชญา และศิลปะมาโดยตลอด และชีวิตของเขาในตอนนั้นดูห่างไกลจากโลกของการเมืองมากเลยทีเดียว

2. การทำงาน
         หลังจากจบการศึกษา มาครงเข้าทำงานในด้านที่แตกต่างจากวิชาที่เขาร่ำเรียน เขาทำงานในแวดวงการเงินการธนาคารมาเป็นเวลานานหลายปี โดยทำงานให้กับบริษัท ร็อธส์ไชลด์ (Rothschild) บริษัททรงอิทธิพลที่เป็นเจ้าของเครือข่ายธนาคารหลายแห่งในยุโรป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ก่อนจะหันเหไปสู่วงการการเมืองอย่างเต็มตัวในปี 2555

3. ชีวิตในแวดวงการเมือง
    ก่อนหน้าจะเข้าสู่วงการการเมืองอย่างเต็มตัวนั้น เขาเคยทำหน้าที่ในกระทรวงการคลัง โดยเป็นผู้ช่วยในทีมของ ฌาคส์ อัตตาลี นักการเมืองผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของอดีตประธานาธิบดีมิตเตร็อง แต่ก็ได้ออกจากงานไปทำงานให้กับบริษัท ร็อธส์ไชลด์ในปี พ.ศ. 2551 

          มาครง เข้ามาทำงานด้านการเมืองอย่างจริงจังโดยการเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ และด้วยความสามารถที่โดดเด่นของเขาทำให้ประธานาธิบดีออลลองด์เสนอชื่อเขาขึ้นไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเขาได้ร่างกฎหมายที่มุ่งเน้นผลักดันให้รัฐบาลมีความเป็นมิตรกับภาคเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสภา และมันก็ถูกตัดลงไป ไม่ผ่านการอนุมัติ 

4. พรรคการเมืองของตนเอง 
จุดเปลี่ยนที่ทำให้มาครงหันมาตั้งพรรคการเมืองของตนเอง เป็นเพราะเขาเล็งเห็นว่า แนวคิดการปฏิรูปเศรษฐกิจของเขานั้นไม่สามารถไปกันได้กับนโยบายของพรรคสังคมนิยมภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดีออลลองด์ มาครงจึงลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีและออกมาตั้งพรรคการเมืองของตัวเองในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้ชื่อ ออง มาร์ช (En Marche) ซึ่งมีความหมายตรงตัวถึงการเคลื่อนไหว เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดเสรีนิยมสายกลาง ที่มีเป้าหมายปฏิรูปการเมืองของฝรั่งเศสให้ก้าวไปข้างหน้า และให้ความเคารพกับสิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกคนในประเทศ 

          การจัดตั้งพรรคการเมืองของมาครงถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองฝรั่งเศส ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะมาจากเฉพาะ 2 พรรคการเมืองใหญ่เท่านั้น และนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อทำให้ประเทศเดินหน้าไปสู่จุดใหม่ของเขา ทำให้มาครงได้คะแนนนิยมอย่างท่วมท้นนับตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่ออกแคมเปญหาเสียง

5. ชีวิตรักอันเลื่องลือ 
  เรื่องราวชีวิตรักของมาครงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะคู่ชีวิตของเขาก็คือ บริจิตต์ โทรนเญอซ์ วัย 64 ปี ซึ่งเป็นคุณแม่ของเพื่อนร่วมชั้น และเธอก็ยังเป็นอดีตคุณครูสอนวิชาศิลปะการแสดง ประจำโรงเรียนมัธยมในเอเตียงที่มาครงเคยศึกษาอยู่ หนุ่มน้อยมาครงในวัย 15 ปี หลงรักคุณครูผู้อายุแก่กว่าถึง 24 ปี คนนี้อย่างจัง ความรักของมาครงไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ มันจริงจังมากถึงขนาดพ่อแม่ของเขาพยายามกีดกันไม่ให้ทั้งคู่ได้พบกัน 

          เมื่อมาครงอายุ 17 ปี เขาก็เปิดเผยกับคุณครูผู้เป็นที่รักว่าเขาอยากแต่งงานกับเธอ ถึงแม้ว่าตอนนั้นมันจะไม่มีทางเป็นไปได้และเขาก็ต้องแยกจากไปเรียนต่อที่ปารีส แต่มาครงก็บอกกับเธอว่า "ผมจะกลับมาหาคุณ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ผมก็จะแต่งงานกับคุณให้ได้"  

          หลังจากเวลาผ่านไปนานหลายปี ความรักที่มาครงมีให้คุณครูก็ไม่เคยจืดจางลงไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ขณะที่มาครงอายุได้ 29 ปี บริจิตต์ก็หย่าขาดจากสามี และมาครงก็ได้แต่งงานกับเธอดังที่เขาปรารถนามาตลอด โดยไม่สนคำวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ จากสังคม 

ภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน

La base de la conversation

Bonjour บงชูร์ สวัสดีตอนเช้า

Bonsoir บงซัวร์ สวัสดีตอนบ่าย

Bonne nuit บอนนุย ราตรีสวัสดิ์

Allô อัลโหล ฮัลโหล

Salut ซาลู สวัสดีแบบเป็นกันเอง

Au revoir โอเรอวัว ลาก่อน

Ciao ช้าว ลาก่อนแบบเป็นกันเอง

Merci แมกซี่ ขอบคุณ

Oui หวี ใช่

Non นง ไม่ใช่

S'il vous plaît ซิลวูเปล ได้โปรด

D'accord ดั๊กกอ OK

Pardon ปารก์ดง ขอโทษ

Pardon Monsieur / Madame ปารก์ดง เมอซิเออ / มาดาม ขอโทษคุณผู้ชาย / คุณผู้หญิง

Je suis désolé เชอ ซุย เดโซเล่ ฉันเสียใจ

Je vous en prie เชอ วู ซอง พรี ไม่เป็นไร

Santé ! ซองเต้ Cheers ! ( ใช้สำหรับเวลาดื่ม )

C'est combien? เซ่ คอมเบียง ราคาเท่าไร

Attention!! อั๊ตตองซิยง ระวัง !

Entrez ! อ๊องเทร่ เข้ามา

Excusez-moi เอ๊กกูสเซ่มัว ขอโทษ ( Excuse me )

bien เบียง ดีแล้ว

Bon voyage! บงวัวยาซ ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

Je ne sais pas เชอ เนอ เซ ปะ ฉันไม่รู้

Je ne comprends pas เชอ เนอ กอมพรอง ปะ ฉันไม่เข้าใจ

Vraiment? แวร์ม้อง จริงหรือ

C'est exact เซ แอ๊กแซก ถูกต้องแล้ว

Qui est-ce? กิเอส นั่นใคร

Qu'est-ce c'est ? แกซเกอะเซ นั่นอะไร

Allez-vous-en ! อัลเล่วูซอง ออกไป !

การทำความรู้จัก

** คำที่อยู่ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้สำหรับคนสนิท หรือครอบครัวเท่านั้น **

ฺBonjour à tous บงชู อา ตุส สวัสดีทุกๆคน

Comment allez-vous? กอมมอง ตาลเล่ วู เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีหรือ ( เพื่อความสุภาพ )

Comment vas-tu? กอมมอง วา ตู เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีหรือ

Bien, merci et vous?( et toi?) เบียง แมกซี่ เอ่ วู (เอ่ ตั๋ว ) ก็สบายดี ขอบคุณ และคุณละ ( และเธอละ)

Comment vous appelez-vous? กอมมอง วู ซับเป้ลเล่ วู คุณชื่ออะไร ( เพื่อความสุภาพ )

Comment t'appelles-tu? กอมมอง ตับเป่ล ตู เธอชื่ออะไร

Je m'appelle Jitaree เชอ มับเป่ล จิตอารีย์ ฉันชื่อ จิตอารีย์

Laisse-moi vous (te) présenter à Stephen แลสเส่ มัว วู ( เตอ ) เพร่ซองเต้ อา สตีเว่น ให้ฉันแนะนำคุณ ( เธอ ) แก่สตีเว่น

Enchanté (e) อองชองเต้ ยินดีที่ได้รู้จัก

Je ne parle pas très bien français เชอ เนอ ปาล ป่ะ แทร์ เบียง ฟองเซ่ ฉันพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ค่อยได้

Venez (Viens) faire la connaissance de Somchai เวอนเน่ ( เวียน ) แฟร์ ลา กอนแนสซอง เดอ สมชาย มาทำความรู้จักกับสมชายสิ

D'ou venez-vous? ( D'ou viens-tu? ) ดุ๋ เวอนเน่ วู ( ดุ๋ เวียน ตู ) คุณมาจากไหน ( เธอมาจากไหน )

Je viens de la Thaïlande เชอ เวียน เดอ ลา ไตลอง ฉันมาจากประเทศไทย

Quel âge avez-vous? ( Quel âge as-tu? ) แกล ลาส อาแว่ วู ( แกล ลาส อา ตู ) คุณอายุเท่าไร ( เธออายุเท่าไร )

J'ai 18 ans เช ดิสวิท ตอง ฉันอายุ 18

Je suis professeur de l'université / secrétaire เชอ ซุย โพสเฟสเซอร์ เดอ ลุนิแวซิเต้ / เซอเคร่แต ฉันเป็นอาจารย์สอนอยู่มหาวิทยาลัย / เป็นเลขา

Je suis marié(e) / célibataire / divorcé(e) เชอ ซูย มาคริเย่ / เซลิแบแต / ดิวอกเซ่ ฉันแต่งงานแล้ว / โสด / หย้า

Je ne fume pas เชอ เนอ ฟูม ป่ะ ฉันไม่สูบบุหรี่

Est-ce que vous vous êtes déjà rencontrés ? แอสเซอเกอะ วู วู แซท เดช่า ครองก่องเทร่ พวกคุณเคยเจอกันแล้วหรือ

Voici mon ami วัวซิ มง นามี นี่เพื่อนของฉัน

Dans quelle ville habitez-vous en Thaïlande? ดอง แกล วีล อาบิเต้ วู ออง ไตลอง คุณอยู่จังหวัดไหนในเมืองไทย ( เพื่อความสุภาพ )

Dans quelle ville habites-tu en Thaïlande? ดอง แกล วีล อาบิท ตู ออง ไตลอง เธออยู่จังหวัดไหนในเมืองไทย ( สำหรับคนสนิท )

J'habite à Bangkok ชาบิท อา บางกอก ฉันอยู่ที่กรุงเทพฯ

Quand avez-vous votre anniversaire? กอง อาเว่ วู โวท อานิแวแซ วันเกิดคุณวันที่เท่าไร่ ( เพื่อความสุภาพ )

Quand as-tu ton anniversaire? กอง อา ตู ตง อานิแวแซ วันเกิดเธอวันที่เท่าไหร่ ( คนสนิท )

Le 4 juillet เล กรัทร์ ชุยเย่ วันที่ 4 กรกฏา
Êtes-vous merié (e) ? (Es-tu merié (e) ? ) อาเว่ วู มาริเย่ (อา ตู มาริเย่) คุณแต่งแล้วหรือยัง

Non, je suis celibataire นง, เชอ ชุย เซลิแบแต ยัง ฉันยังโสด

Oui, je suis déjà marié (e) หวี, เชอ ซุย เดช่า มาริเย่ ฉันแต่งงานแล้ว

Que faites-vous dans la vie? ( Que fais-tu dans la vie? ) เกอะ แฟท วู ดอง ลาวี (เกอะ แฟ ตู ดอง ลาวี) คุณทำอาชีพอะไร

Quelle est votre ( ta ) profession ? แกล เล โวท (ตา) โพรเฟสซิยง คุณทำอาชีพอะไร

Je suis étudiant (e) / au chômage / infirmière เชอซุย เอตุดิย้อง / โอ โชมาช / แองฟิแยมมิแย ฉันเป็นนักศึกษา / ตกงาน, ไม่มีงานทำ / นางพยาบาล

Quelle école fréquentez-vous ? ( Quelle école fréquentes-tu? ) แกล เลกอล เฟรกองเต้ วู (แกล เลกองเฟรกอง ตู) คุณเรียนอยู่ที่ไหน

Je suis au lycée / à l'université เชอ ซุย โอ ลีสเซ่ / อา ลุนิแวซิเต้ ฉันเป็นนักเรียนมัธยม / มหา'ลัย

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

สำนวน "ช่างมันเถอะ"

เรื่องบางเรื่องถ้าเราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ก็ต้องยอมรับละบอกตัวเองว่า
"ช่างมันเถอะ" แล้วจงเดินหน้าต่อไป
คำว่า "ช่างมันเถอะ" ในภาษาฝรั่งเศสสามารถพูได้ดังนี้

-Ce n'est pas grave.
  (เซ เน ปะ กราฟ)

-C'est rien.
  (เซ เรียง)

-Laisse tomber
  (เล ตง เบะ)

=ช่างมันเถอะ

วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

     Le Passé Composé      


     Le Passé Composé ใช้บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตทั่วๆไป โดยไม่เน้นระยะเวลา

โครงสร้างของ Le Passé Composé คือ
     1. กิริยาช่วย ได้แก่ V.avoir หรือ V.être
     2. กิริยาแท้ ซึ่งเปลี่ยนเป็น Le Participe Passé (P.P.)
          ดังนั้น โครงสร้างของ Le Passé Composé คือ V.avoir/V.être + P.P.

การเปลี่ยน V. เป็น P.P.
     1. ประเภท V.gr.1 ลงท้ายด้วย -er เปลี่ยนเป็น P.P. คือ ตัด er ออกแล้วเปลี่ยนเป็น é เช่น
          V.parler     >     parlé                         V.aller     >     allé                        V.manger     >     mangé

     2. ประเภท V.gr.2 ลงท้ายด้วย -ir เปลี่ยนเป็น P.P. คือ ตัด r ออก เช่น
          V.finir        >     fini                            V.réussir >     réussi                    V.punir     >     puni

     3. ประเภท V.gr.3 ไม่มีการกำหนดตายตัวว่ากิริยาทุกตัวต้องมีกฏการเปลี่ยนเช่นเดียวกัน ดังนั้นต้องใช้วิธีการจดจำ P.P. ที่สำคัญใน V.gr.3 ได้แก่
          V.avoir          >     eu                   V.être          >     été                    V.pouvoir      >     pu
          V.vouloir      >     voulu              V.venir        >     venu                 V.tenir            >     tenu
          V.courir        >     couru            V.voir          >     vu                      V.savoir         >     su
          V.croire        >      cru                V.pleuvoir  >     plu                    V.lire               >     lu
          V.connaître  >     connu            V.devoir     >     dû                       V.attendre      >     attendu
          V.vendre      >     vendu              V.répondre >     répondu           V.entendre     >    entendu
          V.défendre   >     défendu           V.perdre     >     perdu               V.recevoir      >     reçu
          V.vivre          >     vécu                 V.dire          >    dit                     V.écrire           >    écrit
          V.faire           >      fait                 V.construire  >  construit        V.conduire     >     conduit
          V.prendre     >      pris                V.comprendre > compris          V.mettre          >     mis
          V.s'assoir     >      s'assis           V.mourir      >     mort               V.naître           >     né
          V.offrir          >      offert              V.ouvrir      >     ouvert             V.couvrir        >     couvert
          V.découvrir  >      découvert       V.suivre      >     suivi                V.sourire         >     souri
          V.éteindre    >       éteint             V.peindre    >    peint                 V.falloir           >     fallu

     โดยทั่วไปแล้ว V.ส่วนใหญ่จะใช้กับกิริยาช่วย V.avoir มีเพียงบางตัวเท่านั้นที่ใช้กับ V.être คือ
     1. กิริยาที่แสดงให้เห็นเป็นช่วงเวลาอันสั้น ได้แก่ 
          V.aller , V.passer , V.entrer , V.rentrer , V.partir , V.sortir , V.monter , V.tomber , V.descendre , V.rester , V.retourner , V.arriver , V.venir , V.revenir , V.devenir , V.demeurer , V.mourir , V.décéder , V.naître

     2. V.prenominal หรือ กิริยาที่มี se นำหน้า เช่น V.se promener , V.se lever , V. se laver  โครงสร้าง คือ se + V.être + P.P.

*ทุกครั้งที่ใช้ V.être เป็น V.ช่วย ต้อง accord ตามเพศและพจน์ของประธาน คือ
     1. ประธานเพศหญิง เอกพจน์เติม e หลัง P.P.
     2. ประธานเพศชาย พหูพจน์ เติม s หลัง P.P.
     3. ประธานเพศหญิง พหูพจน์ เติม es หลัง P.P.
   เช่น
          Je suis allé(e).                    Tu es allé(e).                    Il est allé.                    Elle est allée.
          Nous sommes allé(e)s.     Vous êtes allé(e)s.          Ils sont allés.              Elles sont allées.

          Je me suis levé(e).             Tu t'es levé(e).                 Il est levé.                  Elle est levée.
          Nous sommes levé(e)s.    Vous êtes levé(e)s.         Ils sont levés.            Elles sont levées.          

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Les Pronoms Relatifs Invariables

        Les Pronoms Relatifs Invariables คือ ประพันธสรรพนามที่ไม่มีการเปลี่ยนรูป ทำหน้าที่เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน มีดังนี้ คือ qui , que , dont , où

วิธีการเชื่อมประโยค
     1. หาคำซ้ำในทั้ง 2 ประโยค
     2. ดูหน้าที่ของคำที่ซ้ำในประโยคที่ 2
     3. ซ้ำคำไหน ยกประพันธสรรพนามและประโยคย่อยไปไว้หลังคำนั้น คำที่อยู่ด้านหน้าประพันธสรรพนามนั้นเรียกว่า antécédent   

     Qui ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยคย่อย แทนนามหรือสรรพนามของประโยคที่อยู่ด้านหน้า ( qui + V. )

          J'ai dîné dans un restaurant qui est près de chez nous.
          มาจาก 2 ประโยคคือ
               J'ai dîné dans un restaurant. Le restaurant est près de chez nous.
               1. หาคำซ้ำ - le restaurant.
               2. ดูหน้าที่ในประโยคที่ 2 - ทำหน้าที่เป็นประธานแทนด้วย qui
               3. ยกไปไว้หลังคำที่ซ้ำ J'ai dîné dans un restaurant qui est près de chez nous.

          Nous voyons des enfants qui reviennent de la plage.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               Nous voyons des enfants. Les enfants reviennent de la plage.

     Que ทำหน้าที่เป็น"กรรมตรง" ของกริยาในประโยคย่อย que จะมีเพศและพจน์ตาม antécédent ( que + ประโยค )

          Le marché flottant que j'ai visité est à Damnern Saduak.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               Le marché flottant est à Damnarn Saduak. J'ai visité le marché flottant.
               1. หาคำซ้ำ - Le marché flottant.
               2. ดูหน้าที่ในประโยคที่ 2 - ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงแทนด้วย que
               3. ยกไปไว้หลังคำที่ซ้ำ Le marché flottant que j'ai visité est à Damnern Saduak.

          Voici le pont que je traverse pour aller à l'université.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               Voici le pont. Je traverse le pont pour aller à l'université.

     Dont มีวิธีการใช้ 2 อย่าง คือ

     1. แทนคำนามในประโยคย่อยที่มี de นำหน้า (คำนามที่ตามหลังกริยาที่มี de) เช่น
               V.avoir envie de          อยาก
               V.avoir besoin de        ต้องการ
               V.penser de                 คิดเกี่ยวกับ
               V.parler de                    พูดเกี่ยวกับ
               V.se servir de               ใช้

          C'est un livre dont j'ai besoin.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               C'est un livre. J'ai besoin de ce livre.

          C'est la voiture dont son père se sert.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               C'est la voiture. Son père se sert de cette voiture.

          C'est un problème dont je pense souvent.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               C'est un problème. Je pense de ce problème souvent.

     2. แทนคำนามที่ตามหลัง de แปลว่า ของ หรือการแสดงความเป็นเจ้าของ
          Voici mon amie dont le nom est Simone.
          มาจากประโยค
               Voici mon amie, le nom de cette amie est Simone.

          Voici la rue de la ville dont je ne connais pas le nom.
          มาจากประโยค
               Voici la rue de la ville, je ne connais pas le nom de la ville.

          J'aime la maison dont le jardin est beau.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               J'aime la maison. Son jardin est beau. (Le jardin de la maison)

*คำนามที่ตามหลัง dont ต้องขึ้นต้นด้วย le la les

     Où มีวิธีใช้ ดังนี้

     1. แทนสถานที่
          Il me parle du pays où il a passé son enfance.
          (ไม่ใช่กรรมตรงของประโยคที่ 2 แต่เป็นส่วนขยาย)
          La piscine où nous nous baignons est très propre.

     2. แทนเวลา
          Le dimanche est le jour où l'on ne travaille pas.
          C'est à huit heures où les enfants vont à l'école.

P.S.
1. qui + V. / que + ประโยค

2. บางครั้งประโยคย่อยอาจสลับตำแหน่ง V. กับ Sujet ต้องดูให้ดีว่ากริยานั้นประธานตัวใดเป็นผู้กระทำ เช่น J'aime la maison que habitent les Dubois. V.habiter ไม่ได้กระจายกับ la maison แต่กระจายกับ les Dubois

3. ใน Le Passé Composé ประโยคใดมี que ต้อง accord ตาม antécédent เช่น J'aime beaucoup les pommes que ma mère a achetées ce matin. เป็นต้น

4. ถ้าประโยคย่อยอันไหนดูที่ V. แล้วเป็น V. ที่ต้องมีกรรม แต่ในประโยคไม่มีกรรม ใช้ que

5. หาก เวลาและสถานที่ เป็นกรรมของประโยค ต้องใช้ que

6. หากดูแล้วว่ามันไม่ใช่ทั้งประธาน ไม่ใช่กรรม และไม่มี de นำ เป็น où ได้เท่านั้น (หลายคนใช้ où ไม่ถูกต้อง)