วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

Galette des Rois ขนมแห่งกษัตริย์ ในเทศกาล L’epiphanie

                    Galette des Rois   

        ขนมแห่งกษัตริย์ในเทศกาล L’epiphanie

          ทุกวันที่ 6 ของเดือนมกราคม คนฝรั่งเศสจะชอบทานขนมพร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัวแต่ไม่ใช่ว่าจะทานขนมอะไรก็ได้นะ  เพราะในวันนี้เป็นวันของ Galette des Rois หรือขนมแห่งกษัตริย์ ถ้าใครไปเที่ยงฝรั่งเศสในช่วงเดือนมกราคม ก็จะเห็นขนมชนิดนี้วางขายอยู่ในร้านขายขนมปังทุกร้านเลย 
          Galette des Rois เป็นขนมที่มีขายในเทศกาล L’epiphanie ซึ่งมีต้นกำเหนิดมาตั้งแต่สมัยโรมัน โดยจะมีขึ้นในทุกวันที่ 6 ของเดือนมกราคม หรือ 12 วันหลังจากที่พระเยซูประสูติเพื่อเป็นรำลึกถึงเหตุการณ์ที่ 3 นักแสวงบุญเมไจ (Mages) หรือที่คนสมัยนั้นนับถือกันว่าเป็นกษัตริย์แห่งกรุงบาบิลอน ทั้งสามเป็นผู้ที่ปราดเปรื่องเรื่องดวงดาว เมื่อพวกเขามองเห็นดวงดาวแห่งเบธเลเฮมก็เกิดความศรัทธาและรู้ทันทีว่าผู้มีบุญหรือกษัตริย์องค์ใหม่ของชาวยิวได้จุติลงมาเกิด พวกเขาจึงเริ่มออกเดินทางตามหา โดยนักบุญทั้งสามได้นำของที่ประเมินค่ามิได้ไปมอบเป็นของขวัญแด่พระผู้เป็นเจ้าของของพวกเขาด้วย ดังที่เราอาจจะพบได้บ่อยๆในภาพวาดของกษัตริย์ทั้งสามพระองค์กำลังโค้งคำนับพระเยซูในขณะที่ยังเป็นทารก
Galette des Rois หรือ ขนมแห่งกษัตริย์ เป็นขนมที่ทำมาจากแป้งพัฟหลังจากอบแล้วจะเป็นแผ่นบางๆกรอบหลายแผ่นซ้อนกันภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า La pâte feuilletée คล้ายๆกับครัวซองค์แต่กรอบกว่าและรสชาตินุ่มนวล ไส้ข้างในเป็นอัลมอลล์กวน หรือที่คนฝรั่งเศสเรียกกันว่า La frangipane รสชาติอร่อยนุ่มลิ้น ถ้าไส้เป็นแอปเปิ้ลหรือผลไม้อบแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆเรียกว่า La brioche (des fruits confits) บางทีก็มีไส้ช็อคโกแลตด้วยนะคะ ก่อนรับประทานแนะนำให้เอาไปอุ่นในเตาอบก่อนจะอร่อยมากเลย ข้างในขนมจะมีความลับซ่อนอยู่ ความลับที่ว่าก็คือตอนทำขนมเค้าจะใส่ตุ๊กตาเล็กๆไว้ในไส้ โดยตุ๊กตาที่ว่านี้ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Une fève ซึ่งอาจจะทำมาจากเซรามิคหรือพลาสติกและยัง เคยมีแบบที่ทำมาจากทองคำด้วย และก็มีเด็กๆหลายคนที่ชอบสะสม La fève ด้วยและเวลาไปซื้อขนมชนิดนี้ที่ร้านก็จะขายมาพร้อมกับมงกุฏกระดาษสีทอง (Une couronne)     

     กฏหรือวัฒนธรรมในการกินขนมแห่งกษัตริย์
จะให้เด็กที่อายุน้อยที่สุดในบ้านไปหลบอยู่ใต้โต๊ะจากนั้นพ่อหรืแม่ก็จะหั่นขนมออกเป็นชิ้นเท่าๆกันตามจำนวนสมาชิกในบ้าน แล้วจะให้เด็กที่ลงแอบอยู่ใต้โต๊ะเป็นคนตัดสินใจว่าขนมแต่ละชิ้นจะเป็นของใคร เช่นชิ้นแรกให้พ่อ ชิ้นที่สองให้พี่ พอทุกคนได้ขนมแล้วเด็กก็จะออกมาจากที่ซ่อนและทุกคนลงมือทานขนมพร้อมๆกัน ถ้าขนมของใครมี La fève อยู่ข้างใน คนนั้นก็จะได้สวมมงกุฎและเป็นกษัตริย์ และแน่นอนกษัตริย์ก็ย่อมเลือกควีนของตัวเองได้บางร้านก็อาจจะให้มงกุฏมา 2 อัน ในบ้างครั้งก็อาจจะมี La fève ใส่มาในขนม 2 ชิ้นโดยชิ้นที่สองนี้มักจะทำมาจากถั่ว ถ้าใครได้ชิ้นไปก็ต้องเป็นคนออกไปซื้อขนมกษัตริย์มาทานกันอีกเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว ที่ทั้งสนุกและอร่อย

     คำพูดที่มักจะใช้กันบ่อยๆในเทศกาลนี้ก็คือ
Qui sera le roi? = ใครจะได้เป็นกษัตริย์
Qui sera la reine? = ใครจะได้เป็นราชินี
Celle-ci c’est pour qui? = ขนมชิ้นนี้ให้ใคร
J’ai trouvé la fève! = ฉันพบ fève แล้ว!
J’ai la fève! = ฉันได้ fève!
Tirer les rois. หรือ Tirer au sort. หมายถึงการกินขนมแห่งกษัตริย์แล้วก็กลายเป็นกษัตริย์

     

คำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเกี่ยวกับบ้าน

         คำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเกี่ยวกับบ้าน

1. la maison = บ้าน
2. le grenier = ห้องใต้หลังคา
3. l'étage = ชั้นบน
4. le rez-de-chaussée = ชั้นล่าง
5. la cave =  ห้องใต้ดิน
6. la salle de bains = ห้องน้ำ
7. la salle ( à coucher ) = ห้องนอน
8. la cuisine = ห้องครัว,ห้องปรุงอาหาร
9. le garage = โรงรถ
10. la salle à manger = ห้องรับประทานอาหาร
11. les toilettes = ห้องสุขา
12. le bureau = ห้องทำงาน
13. le balcon = ระเบียง
14. Ie salon = ห้องโถง
15. l'escalier = บันได

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

สำนวนที่เกี่ยวกับเงิน ในภาษาฝรั่งเศส

            สำนวนที่เกี่ยวกับเงิน ในภาษาฝรั่งเศส
        เรื่องที่ไม่ควรนำมาพูดคุยสนทนาของคนฝรั่งเศส  ก็มีเรื่องศาสนา การเมือง และเรื่องเงิน ไม่ควรไปถามกันว่าเธอได้เงินเดือนเท่าไหร่เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพ แม้ว่าคนฝรั่งเศสไม่ชอบคุยเรื่องเงิน แต่ก็มี สำนวนที่เกี่ยวกับเงิน ในภาษาฝรั่งเศส เยอะแยะมากมายเลย เราไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง

1. L’argent n’a pas d’odeur. 
ถ้าแปลตรงก็แปลว่า เงินไม่มีกลิ่นหรอกนะ หมายถึงเงินไม่มีที่มาที่ไป ไม่สำคัญว่าจะได้มันมาจากไหน (ขอให้มีเงินก็แล้วกัน) เพราะเงินมันไม่มีกลิ่นนี่เองจึงทำให้หลายคนทำเพื่อเงินได้อย่างไม่ละอายใจ สำนวนนี้มีที่มาในสมัยของจักรพรรดิเวสเปเชียน หรือ ไททัส เฟลเวียส เวสปาซิเอนัส เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของ ในปี ค.ศ. 69 ซึ่งสมัยนั้นจะมีโถปัสสาวะตั้งอยู่กลางเมืองเพื่อในคนปัสสาวะ แล้วน้ำปัสสาวะก็จะถูกนำไปใช้ในการฟอกหนัง อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ก็มีความคิดที่จะจัดเก็บภาษีการปัสสาวะก็เลยพูดคุยเรื่องนี้กับบุตรชาย พระองค์ยื่นเหรียญไปที่ปลายจมูกของลูกชายพร้อมกับถามว่าเงินมันมีกลิ่นหรือเปล่า? จนกระทั่งในคริสตวรรษที่ 19 ชาวเมืองปารีสจึงเรียกโถปัสสาะในที่สาธารณะแบบนี้ว่า “vespasiennes” ตามชื่อของจักรพรรดิเวสเปเชียน

2. Le temps, c’est de l’argent. 
สำนวนนี้ตรงกับของบ้านเราที่พูดว่า “เวลาเป็นเงินเป็นทอง” เป๊ะเลย

3. L’argent, ça ne pousse pas dans les arbres.
“เงินไม่ได้งอกออกมาจากต้นไม้” คล้ายๆกับสำนวนไทยที่ว่า เงินไม่ได้ร่วงลงมาจากฟ้า หมายความว่าอยากมีเงินก็ต้องทำงานนั่นเอง

4. Être né avec une cuillère en argent dans la bouche. 
คำนี้ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ไม่ได้คาบช้อนเงิน(ช้อนทอง)มาแต่เกิด

5. Être pété de thunes. 
หมายความว่า รวยมาก มีเงินมาก คล้ายๆกับสำนวน Être plein aux as หรือÊtre riche comme crésus. นั่นเอง

6. Ça coute la peau du dos. 
มีราคาแพงจนประเมินค่าไม่ได้ ค่าเทียบเท่ากับอวัยวะต่างๆของคนเราเช่น มีค่าผิวหนังที่หุ้มแผ่นหลัง
นอกจากนี้ก็ยังมีคำว่า Ça coute…des fesses / du cul / un rein…. หมายความว่าแพงหรือมีค่าราวกับ สะโพกทั้งสองข้าง/หรือแพงเท่ากับก้น/ หรือมีราคาเทียบเท่ากับไตของคนเรา

7. Avoir des oursins dans les poches. 
Un oursin ก็คือหอยเม่นทะเลที่มีหนามเยอะ แปลตรงตัวแปลว่ามีหอยเม่นอยู่ในกระเป๋า หอยเม่นมันมีหนามถ้าล้วงเข้าไปมันจะทิ่มมือเอา หมายถึง ขี้เหนียวหรือไม่อยากล้วงเงินออกมาใช้นั่นเอง

8. Les histoires d’argent tuent
l’amitié.
เรื่องเงินมักทำให้เสียเพื่อน อันนี้เรื่องจริงที่สุด!

9. Les bons comptes font les bons amis.
(ถ้าไม่อยากเสียเพื่อน) การทำบัญชีดีๆทำให้มีเพื่อนดีๆ ประมาณว่าใครยืมตังค์เพื่อนก็ต้องเคลียร์ต้องจ่ายคืนนะ

10. Jeter l’argent par les fenêtres. 
การโยนเงินทิ้งทางหน้าต่าง เช่นเวลาที่อากาศร้อนๆเราเปิดแอร์แต่เปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้ก็เหมือนกับการโดยนเงินทิ้งนั่นแหละ

11. Ça coute une blinde. ราคาสูงมาก

เราก็ได้ทราบกันแล้วนะคะว่า สำนวนฝรั่งเศส ที่เกี่ยวกับเงิน มีอะไรบ้าง

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

Can-Can การเต้นแคนแคน

แคนแคน (ฝรั่งเศส: cancan, ก็องก็อง แปลว่า อื้อฉาว; อังกฤษ: สะกด can-can) เป็นรูปแบบการแสดงเต้นระบำในห้องโถง ประกอบดนตรีจังหวะเต้นรำ โดยใช้นักเต้นสตรีสวมกระโปรงยาว มีกระโปรงลูกไม้ซับใน สวมถุงน่องและรองเท้าส้นสูง นักเต้นจะเต้นด้วยท่าทางยั่วยวนผู้ชมที่เป็นชาย โดยเปิดชายกระโปรงให้เห็นกางเกงชั้นใน และเตะขาขึ้นสูง หรือกระโดดแยกขา สลับกับการเคลื่อนไหวร่างกาย 

ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้น มักใช้เพลงกาล็อพ(galop, ม้าควบ) ในจังหวะ 2/4 เพลงที่นิยมใช้ คือเพลง Orpheus in the Underworld ของชาก ออฟเฟนบาค หรือเพลงอื่นๆ ของโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง

การเต้นแบบแคนแคนเกิดขึ้นครั้งแรกราวทศวรรษ 1830 การเต้นบอลรูมของชนชั้นผู้ใช้แรงงานในย่านมงต์ปาร์นาส กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยนักเต้นชาย แต่เป็นที่นิยมเต้นในช่วงทศวรรษ 1890 เป็นการเต้นแสดงโดยนักเต้นหญิง โดยเฉพาะการแสดงที่โรงละครมูแลงรูจ ที่ตั้งอยู่ในย่านโคมแดงในมงมาร์ต นักเต้นหญิงที่มีชื่อเสียง เช่น La Goulue และ Jane Avril ที่มีปรากฏอยู่ในภาพวาดแบบโพสต์อิมเพรสชันนิสม์ของอองรี เดอ ตูลูส-โลแตร็ก เป็นจำนวนมาก

การเต้นแคนแคนที่มูแลงรูจเป็นที่นิยมจนถึงทศวรรษ 1920 และเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากละครเวที (1953) โดยโคล พอร์ตเตอร์ จัดแสดงที่บรอดเวย์ และเวสต์เอนด์ และภาพยนตร์ในปี 1960 นำแสดงโดยแฟรงก์ ซินาตรา และเชอร์ลี แมคเลน