ประวัติความเป็นมาของขนมมาการอง ( Macaron )
มาการอง (Macaron) มีประวัติศาสตรยาวนานหลายร้อยปี และช่วง 5-6 ปีมานี้ ชาวปารีสและเหล่าฟู๊ดดี้ในประเทศโลกเจริญแล้ว ต่างคลั่งไคล้ใหลหลงคุกกี้ชิ้นเล็กๆ กลมๆ 2ชิ้นประกบกัน ตรงกลางมีไส้ หน้าตาเหมือนแฮมเบอร์เกอร์ รสหวาน สีสันสดใส และราคาสูงจนน่าตกใจ และวันนี้ร้านขนมในเมืองไทยหลายร้าน เริ่มผลิตมาการองออกวางขายกันไม่น้อย แม้ผู้บริโภคจะยังไม่ต่อคิวรอซื้อมากินกันเป็นล่ำเป็นสันก็ตาม เป็นขนมที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส
ในยุคข้าวยากหมากแพง ช่วง Frenchrevolutionที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ช่วงนั้นมิชชันนารีชาวอิตาลี ที่อาศัยในฝรั่งเศสหาวิธีทำดำรงชีพจากAlmond น้ำตาล และไข่ขาว ซึ่งเป็นของราคาไม่แพง แต่มีคุณค่าทางอาหาร จึงริเริ่มนำสามอย่างนี้มาตีรวมกันและอบในเตาอบ ออกมาเป็นขนมรูปร่างคล้ายจานบิน ด้านนอกกรอบนิดๆ กัดเข้าไปด้านใน ทุกอณูนิ่มละลายในปากทันที ด้วยรสชาติที่หอมหวานลงตัว และวัตถุดิบที่หาง่ายในยุคนั้นราคาไม่แพงมาการองจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย
ในยุคข้าวยากหมากแพง ช่วง Frenchrevolutionที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ช่วงนั้นมิชชันนารีชาวอิตาลี ที่อาศัยในฝรั่งเศสหาวิธีทำดำรงชีพจากAlmond น้ำตาล และไข่ขาว ซึ่งเป็นของราคาไม่แพง แต่มีคุณค่าทางอาหาร จึงริเริ่มนำสามอย่างนี้มาตีรวมกันและอบในเตาอบ ออกมาเป็นขนมรูปร่างคล้ายจานบิน ด้านนอกกรอบนิดๆ กัดเข้าไปด้านใน ทุกอณูนิ่มละลายในปากทันที ด้วยรสชาติที่หอมหวานลงตัว และวัตถุดิบที่หาง่ายในยุคนั้นราคาไม่แพงมาการองจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย
จนกระทั่งต่อมามีผู้นำมาการองสองอันมาประกบกันแล้วทำไส้อยู่ตรงกลางซึ่่งเป็นรูปแบขนมmacaronที่รับประทานมาจนทุกวันนี้มาการองยุคใหม่ ถูกปฏิวัติให้เจ๋งยิ่งขึ้นโดยพ่อมดของหวานชาวฝรั่งเศส Piere Herme' ซึ่งนำผลไม้จากทุกมุมโลกมาสร้างสรรค์มาการองรสชาติต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นขนมที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ปัจจุบันขนมชนิดนี้เป็นทั้งของหวานแสนอร่อย เป็นทั้งแฟชั่น ที่เชฟเทพๆทั้งหลายแข่งกันครีเอตหน้าตา และรสชาติออกมาอย่างสวยงาม
เสน่ห์ของ “มาการอง” ไม่ได้อยู่ที่สีสันสดใสเท่านั้น แต่ว่ากันว่าลักษณะของมาการองที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่รูปร่างคล้ายกับโดมแบน ๆ ที่มองดูจากด้านบนจะเป็นรูปวงกลม ผิวด้านบนของขนมเรียบมันจากความละเอียดของ เมล็ดอัลมอนด์บด ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนล่างของชิ้นขนมที่เรียกว่า “Foot” หรือบางคน เรียกว่า “Skirt” ซึ่งมัน คือ รอยหยักคล้ายลูกไม้ชายกระโปรงที่บางกรอบ ซึ่งกว่าจะทำได้เช่นนั้นก็ต้องมีวิธีการทำที่ยุ่งยากพอควร และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ กลิ่นอันหอมหวาน เคล็ดลับอยู่ที่หลังจากนำ มาการองสองชิ้นมาประกบกันแล้ว ต้องเก็บไว้ในที่เย็นสักหนึ่งคืน เพื่อให้ไส้รสชาติต่าง ๆ ซึมซับเข้าสู่ชั้นของเนื้อขนม นอกจากนี้ความชื้นจากไส้ครีมยังทำให้ มาการองมีความนุ่มหนึบเวลาเคี้ยวอีกด้วย จะต้องมีรสชาติที่ผสานกันอย่างลงตัวระหว่างไส้ครีมกานาชกับเนื้อคุกกี้ ขนาดของส่วนสูงที่สมดุลของตัวคุกกี้ชิ้นบนและล่างที่ต้องเท่า ๆ กัน รวมทั้งไส้ที่บีบให้พอดีขอบและมองเห็นเป็นแนวเส้นเล็ก ๆโดยรอบตลอดชิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น