วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

     Le Passé Composé      


     Le Passé Composé ใช้บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตทั่วๆไป โดยไม่เน้นระยะเวลา

โครงสร้างของ Le Passé Composé คือ
     1. กิริยาช่วย ได้แก่ V.avoir หรือ V.être
     2. กิริยาแท้ ซึ่งเปลี่ยนเป็น Le Participe Passé (P.P.)
          ดังนั้น โครงสร้างของ Le Passé Composé คือ V.avoir/V.être + P.P.

การเปลี่ยน V. เป็น P.P.
     1. ประเภท V.gr.1 ลงท้ายด้วย -er เปลี่ยนเป็น P.P. คือ ตัด er ออกแล้วเปลี่ยนเป็น é เช่น
          V.parler     >     parlé                         V.aller     >     allé                        V.manger     >     mangé

     2. ประเภท V.gr.2 ลงท้ายด้วย -ir เปลี่ยนเป็น P.P. คือ ตัด r ออก เช่น
          V.finir        >     fini                            V.réussir >     réussi                    V.punir     >     puni

     3. ประเภท V.gr.3 ไม่มีการกำหนดตายตัวว่ากิริยาทุกตัวต้องมีกฏการเปลี่ยนเช่นเดียวกัน ดังนั้นต้องใช้วิธีการจดจำ P.P. ที่สำคัญใน V.gr.3 ได้แก่
          V.avoir          >     eu                   V.être          >     été                    V.pouvoir      >     pu
          V.vouloir      >     voulu              V.venir        >     venu                 V.tenir            >     tenu
          V.courir        >     couru            V.voir          >     vu                      V.savoir         >     su
          V.croire        >      cru                V.pleuvoir  >     plu                    V.lire               >     lu
          V.connaître  >     connu            V.devoir     >     dû                       V.attendre      >     attendu
          V.vendre      >     vendu              V.répondre >     répondu           V.entendre     >    entendu
          V.défendre   >     défendu           V.perdre     >     perdu               V.recevoir      >     reçu
          V.vivre          >     vécu                 V.dire          >    dit                     V.écrire           >    écrit
          V.faire           >      fait                 V.construire  >  construit        V.conduire     >     conduit
          V.prendre     >      pris                V.comprendre > compris          V.mettre          >     mis
          V.s'assoir     >      s'assis           V.mourir      >     mort               V.naître           >     né
          V.offrir          >      offert              V.ouvrir      >     ouvert             V.couvrir        >     couvert
          V.découvrir  >      découvert       V.suivre      >     suivi                V.sourire         >     souri
          V.éteindre    >       éteint             V.peindre    >    peint                 V.falloir           >     fallu

     โดยทั่วไปแล้ว V.ส่วนใหญ่จะใช้กับกิริยาช่วย V.avoir มีเพียงบางตัวเท่านั้นที่ใช้กับ V.être คือ
     1. กิริยาที่แสดงให้เห็นเป็นช่วงเวลาอันสั้น ได้แก่ 
          V.aller , V.passer , V.entrer , V.rentrer , V.partir , V.sortir , V.monter , V.tomber , V.descendre , V.rester , V.retourner , V.arriver , V.venir , V.revenir , V.devenir , V.demeurer , V.mourir , V.décéder , V.naître

     2. V.prenominal หรือ กิริยาที่มี se นำหน้า เช่น V.se promener , V.se lever , V. se laver  โครงสร้าง คือ se + V.être + P.P.

*ทุกครั้งที่ใช้ V.être เป็น V.ช่วย ต้อง accord ตามเพศและพจน์ของประธาน คือ
     1. ประธานเพศหญิง เอกพจน์เติม e หลัง P.P.
     2. ประธานเพศชาย พหูพจน์ เติม s หลัง P.P.
     3. ประธานเพศหญิง พหูพจน์ เติม es หลัง P.P.
   เช่น
          Je suis allé(e).                    Tu es allé(e).                    Il est allé.                    Elle est allée.
          Nous sommes allé(e)s.     Vous êtes allé(e)s.          Ils sont allés.              Elles sont allées.

          Je me suis levé(e).             Tu t'es levé(e).                 Il est levé.                  Elle est levée.
          Nous sommes levé(e)s.    Vous êtes levé(e)s.         Ils sont levés.            Elles sont levées.          

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Les Pronoms Relatifs Invariables

        Les Pronoms Relatifs Invariables คือ ประพันธสรรพนามที่ไม่มีการเปลี่ยนรูป ทำหน้าที่เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน มีดังนี้ คือ qui , que , dont , où

วิธีการเชื่อมประโยค
     1. หาคำซ้ำในทั้ง 2 ประโยค
     2. ดูหน้าที่ของคำที่ซ้ำในประโยคที่ 2
     3. ซ้ำคำไหน ยกประพันธสรรพนามและประโยคย่อยไปไว้หลังคำนั้น คำที่อยู่ด้านหน้าประพันธสรรพนามนั้นเรียกว่า antécédent   

     Qui ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยคย่อย แทนนามหรือสรรพนามของประโยคที่อยู่ด้านหน้า ( qui + V. )

          J'ai dîné dans un restaurant qui est près de chez nous.
          มาจาก 2 ประโยคคือ
               J'ai dîné dans un restaurant. Le restaurant est près de chez nous.
               1. หาคำซ้ำ - le restaurant.
               2. ดูหน้าที่ในประโยคที่ 2 - ทำหน้าที่เป็นประธานแทนด้วย qui
               3. ยกไปไว้หลังคำที่ซ้ำ J'ai dîné dans un restaurant qui est près de chez nous.

          Nous voyons des enfants qui reviennent de la plage.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               Nous voyons des enfants. Les enfants reviennent de la plage.

     Que ทำหน้าที่เป็น"กรรมตรง" ของกริยาในประโยคย่อย que จะมีเพศและพจน์ตาม antécédent ( que + ประโยค )

          Le marché flottant que j'ai visité est à Damnern Saduak.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               Le marché flottant est à Damnarn Saduak. J'ai visité le marché flottant.
               1. หาคำซ้ำ - Le marché flottant.
               2. ดูหน้าที่ในประโยคที่ 2 - ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงแทนด้วย que
               3. ยกไปไว้หลังคำที่ซ้ำ Le marché flottant que j'ai visité est à Damnern Saduak.

          Voici le pont que je traverse pour aller à l'université.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               Voici le pont. Je traverse le pont pour aller à l'université.

     Dont มีวิธีการใช้ 2 อย่าง คือ

     1. แทนคำนามในประโยคย่อยที่มี de นำหน้า (คำนามที่ตามหลังกริยาที่มี de) เช่น
               V.avoir envie de          อยาก
               V.avoir besoin de        ต้องการ
               V.penser de                 คิดเกี่ยวกับ
               V.parler de                    พูดเกี่ยวกับ
               V.se servir de               ใช้

          C'est un livre dont j'ai besoin.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               C'est un livre. J'ai besoin de ce livre.

          C'est la voiture dont son père se sert.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               C'est la voiture. Son père se sert de cette voiture.

          C'est un problème dont je pense souvent.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               C'est un problème. Je pense de ce problème souvent.

     2. แทนคำนามที่ตามหลัง de แปลว่า ของ หรือการแสดงความเป็นเจ้าของ
          Voici mon amie dont le nom est Simone.
          มาจากประโยค
               Voici mon amie, le nom de cette amie est Simone.

          Voici la rue de la ville dont je ne connais pas le nom.
          มาจากประโยค
               Voici la rue de la ville, je ne connais pas le nom de la ville.

          J'aime la maison dont le jardin est beau.
          มาจาก 2 ประโยค คือ
               J'aime la maison. Son jardin est beau. (Le jardin de la maison)

*คำนามที่ตามหลัง dont ต้องขึ้นต้นด้วย le la les

     Où มีวิธีใช้ ดังนี้

     1. แทนสถานที่
          Il me parle du pays où il a passé son enfance.
          (ไม่ใช่กรรมตรงของประโยคที่ 2 แต่เป็นส่วนขยาย)
          La piscine où nous nous baignons est très propre.

     2. แทนเวลา
          Le dimanche est le jour où l'on ne travaille pas.
          C'est à huit heures où les enfants vont à l'école.

P.S.
1. qui + V. / que + ประโยค

2. บางครั้งประโยคย่อยอาจสลับตำแหน่ง V. กับ Sujet ต้องดูให้ดีว่ากริยานั้นประธานตัวใดเป็นผู้กระทำ เช่น J'aime la maison que habitent les Dubois. V.habiter ไม่ได้กระจายกับ la maison แต่กระจายกับ les Dubois

3. ใน Le Passé Composé ประโยคใดมี que ต้อง accord ตาม antécédent เช่น J'aime beaucoup les pommes que ma mère a achetées ce matin. เป็นต้น

4. ถ้าประโยคย่อยอันไหนดูที่ V. แล้วเป็น V. ที่ต้องมีกรรม แต่ในประโยคไม่มีกรรม ใช้ que

5. หาก เวลาและสถานที่ เป็นกรรมของประโยค ต้องใช้ que

6. หากดูแล้วว่ามันไม่ใช่ทั้งประธาน ไม่ใช่กรรม และไม่มี de นำ เป็น où ได้เท่านั้น (หลายคนใช้ où ไม่ถูกต้อง)